อยากเล่ามาก “ใช้สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการอะไรดี มาดูคร่าว ๆ กัน”

เอ้ย แถมแทบเลตด้วยนะ คือเล่าเพลิน จะเน้นที่โอเอส แต่ดันไปตั้งชื่อเรื่องว่าสมาร์ทโฟน เวิร์ดเพรสแก้ชื่อเรื่องไม่ได้ แก้แล้วจะเปลี่ยนยูอาร์แอล แล้วมันจะเข้าไม่ได้ //

เราเขียนตามข้อมูลที่เราเก็บมานะ อาจไม่ใช่ทุกรุ่น แต่จะบอกแล้วกันว่าจากอุปกรณ์ไหน

ขอบอก

เราจะพูดถึงแค่ แอนดรอยด์ ไอโอเอส และ วินโดวโฟนนะ เพราะแบลกเบอร์รี่นี่ไม่เคยอยู่ในความคิดเราเลย (คือไม่ดังพอให้เราสนใจหาข้อมูล)

1) เราสัมผัสแอนดรอยด์อันแรกคือ ซัมซุงแกแลกซี่แทบ10.1 ขนาด 16 GB แบบ wifi 3g ais (8 ธ.ค. 2554) ราคาเครื่อง 18,900฿ ถ้าจำไม่ผิด
ส่วนตัวโอเค เพราะใส่ซิมธรรมดา แค่เซ็งว่าโทรไม่ได้
*เหตุผลที่ซื้อ อยากเอามาลองใช้ ซื้อทั้งทีก็ให้ทำงานเอกสารได้ เพราะตอนนั้นเราทำงานแปล ก่อนนั้นอาทิตย์นึงเราไปนอนเฝ้าม่าเข้าโรงพยาบาล เราเลยไม่ได้ทำงานเลย เพราะไม่ได้เอาคอมไป เลยตัดสินใจเอานี่ เพราะไอแพดมันแพง และเราอยากใช้แอนดรอยด์มาตั้งแต่ชื่อแอนดรอย์ยังเป็นแค่ชื่อ (บทความคอมว่ากูเกิลสร้างOSมือถือ อ่านเจอตั้งแต่ยังเรียนมหาวิทยาลัย เจอในนิตยสารในห้องสมุด)

2) ต่อจากนั้นเราซื้อมือถือ (เครื่องนี้) ไอโมบาย ไอสไตล์ คิว สอง (25 ส.ค. 55) ราคาเครื่อง 5,790฿
โอเค ใส่สองซิม ซิมแรกสามจีได้ทุกค่าย ซิมสองเป็นได้แค่สองจีทุกค่าย
โทรได้ปกติดี ยกเว้นเล่นเน็ตซิมแรก โทรเข้าซิมสองไม่ติดเป็นบางครั้ง
*เหตุผลที่ซื้อ เราต้องใช้มือถือสองซิมเท่านั้น มันเป็นสองซิมที่แอนดรอยด์4.04ไอศครีมแซนวิชที่ราคาถูกที่สุด ณ เวลานั้น  /เพราะเรามีซิมเน็ต ไอคูลที่เหลือดาต้าบานเบอะ ตอนนี้จะหมดแล้ว/ และเราเลือกคิวสอง ขนาดจอใหญ่ บอกตรง ๆ มันคุ้มมาก เราไม่เสียใจที่ใช้มัน แม้แรมจะไม่พอให้เราทำหลายอย่าง แต่ถ้าเป็นใช้เพื่ออะไรพื้น ๆ มันดีมาก คุ้มมาก คิดว่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับราคา

3) เราซื้อแทบเลต ไอโมบาย ไอโน้ตเก้า (จำไม่ได้ว่าซื้อเมื่อไร น่าจะ พ.ย.) ราคา 5,900฿
*เหตุผลคือ ให้แม่เป็นของขวัญวันเกิด จะให้แม่เล่น แต่จนแล้วจนรอด แม่ก็ไม่เล่น แต่แม่รู้ว่าเราซื้อให้เล่น เราจึงเหมือนเสียตังค์ไปงั้น แต่กะว่าถ้าแม่ไม่ใช้แน่ เราจะเอาไปใช้ที่ทำงาน  เพราะที่ทำงานเราไม่มีคอมส่วนตัว
มันเสียบแฟลชไดร์ได้ (แต่เครื่องร้อนมาก เสียบแฟลชไดร์ยิ่งร้อน ไม่มีกล้องหน้า – แต่ดูยูทูบไหลลื่นมาก ความเห็นส่วนตัว)

4) เข้าสู่ไอโอเอส ไอแพด4 (8 กุมภาพันธ์ 2556) ขนาด 64 GB ราคา 23,900฿
เหตุผล เราอัดเสียงจากพีซีมีนอยซ์มาก แกแลกซี่แทบเสียงไม่ชัด เราอยากลองเล่นวอยซ์แบบ แอพที่มีแค่ในแอพสโตร์ของไอโอเอส และเรารู้มาว่าไอโฟน ไอแพด อัดเสียง อัดวีดิโอ ดีเลิศประเสริฐศรี ด้วยเหตุนี้เราจึงเลือกมัน

5) ไม่ได้ซื้อ แต่ไปเล่นมา วินโดวโฟน โนเกีย ลูเมีย หกสองศูนย์
น้องใหม่ซื้อ เลยได้ลองศึกษา และได้เห็นข้อดีข้อเสียแบบคร่าว ๆ

คุณจะซื้อเครื่องไหน คุณต้องสนใจสิ่งเหล่านี้ก่อน

1) คุณมีซิมการ์ดแบบไหน ถ้าคุณจะไม่เปลี่ยนซิม
1.1 ซิมเก่ามาก จงซื้อแอนดรอยด์รุ่นที่ใส่ซิมธรรมดาได้ ยังมีหลายรุ่น เพราะซิมที่เก่ามาก จะตัดซิมไม่ได้ เพราะตำแหน่งไม่ตรงกับที่ตัด (วันนี้เจอจากใหม่ซื้อลูเมียหกสองศูนย์ ใหม่จึงต้องซื้อซิมใหม่เลย)
1.2 ซิมธรรมดารุ่นใหม่ ปีสองปีนี้ น่าจะตัดเป็นไมโครซิมได้
1.3 มีซิมไมโครซิม ก็ไปซื้อเครื่องที่ใส่ไมโครซิม (ไอโฟนสี่เอสลงไป โนเกียลูเมียต่าง ๆ)
1.4 นาโนซิม ก็ใส่เครื่องนาโนซิม (ไอโฟนห้า แกแลกซี่เอสสามขึ้นไป ใช่ป่ะ มีอีกก็ไปสืบเอง)
1.5 มีซิมใดก็ตาม แต่ลงทะเบียนซิมไว้ ก็ไปติดต่อขอซิมใหม่แบบที่ตรงกับมือถือที่ต้องการซื้อ (เบอร์เดิม) จากศูนย์ ให้เรียบร้อย แล้วค่อยไปซื้อมือถือ (คิดว่าทำได้แน่นอน)

ดูรูปซิม
นาโน
ไมโคร
ธรรมดา

image

2) อีเมลที่ใช้เป็นหลัก
2.1 ถ้ามีจีเมล ต้อง ใช้ แอนดรอย์ (ต้องมีจีเมล เพื่อให้เครื่องไปต่อได้) กับ ไอโอเอส (ไม่แน่ใจ แต่เราใช้จีเมลกับไอโอเอสเรา แล้วสร้าง me ติดต่อกับไอคลาวด์ทีหลัง ใช่ป่าววะ ใช้ไม่เป็น)
2.2 วินโดวโฟน (ต้องมีอีเมลฮอทเมลหรือlive.com) เครื่องถึงจะไปต่อได้

3) คุณภาพประสิทธิภาพ
ก็เท่าที่ดู “มันแล้วแต่ราคาเครื่อง เครื่องที่แพงมาก ส่วนใหญ่จะดีกว่า จริง ๆ นะ”
แต่เท่าที่รับข่าวสารมา แอพของไอโอเอสจะทำงานได้เลิศล้ำมาก ทว่ามันต้องเสียเงิน(เยอะด้วย)เป็นส่วนใหญ่ (เรากล้าพูดว่าคนที่มีไอโฟน ไอแพด จำนวนมาก ยังไปไม่ถึงจุดนั้น เพราะใช้แค่ถ่ายรูป ถ่ายวีดิโอ เล่นเฟส โหลดเพลง อ่านแมกกาซีนออนไลน์ เครื่องราคาเป็นหมื่น ๆ แต่ใช้งานมันเป็นได้แค่ไม่กี่พันบาท) โหลดแอพจากแอพสโตร์

แต่ถ้าแอพกลาง ๆ มีแอพฟรีเยอะมากกก ต้องแอนดรอยด์ โหลดแอพจากเพลย์สโตร์

วินโดวโฟน สโตร์ แอพไม่ค่อยคุ้น (ยังเห็นไม่เยอะด้วย เล่นแค่ครั้งแรก) ที่แน่ ๆ แอพหลายอย่างในแอนดรอย์กับไอโอเอส ไม่มีปรากฎ (มีไลน์ จำได้แค่นี้)

4) ถ้าการเข้าถึงข้อมูลในเครื่อง
ยกให้แอนดรอยด์ดีเยี่ยม เป็นอันดับ1 ในใจ เครื่องเดียว วันสตอปเซอร์วิช แชร์บลูทูตกันเอง แชร์คนอื่น (ยกเว้นแชร์กับไอโอเอส มันแชร์ได้แค่ไอโอเอสด้วยกันเอง) ได้ เห็นทุกไฟล์ในเครื่องได้ ชอบที่สุดแล้ว

ไอโอเอ ได้แค่อย่างที่บอก ซื้อแอพมาแพงจะต่ายห่า (ขออนุญาตหยาบคาย) มองไม่เห็นไฟล์ ไม่รู้ไฟล์อยู่ไหน บางอย่างส่งเมลหาตัวเอง เพื่อให้มาซึ่งไฟล์ได้ บางอย่างไม่ได้ ต้องไปซิงค์กับเครื่องคอม (เราไม่อยากซิงค์กับคอม เราชอบให้เครื่องสแตนอโลนได้) ไม่กล้าซิงค์คอมมีแต่ไวรัส เราเลยเซ็งมาก ว่าถ้าประสิทธิภาพดี แต่เรื่องมากขนาดนี้ อีชั้นคงทำอะไรไม่ได้เลย โหลดดนตรีตัวเองมา จะร้องแบบมัลติแทรก โหลดแอพเสียเงินหลายหลายร้อย แอพหาดนตรีไม่เจอ ทั้งที่อยู่ในเครื่องครบทุกอย่าง ก็หากันไม่เจอ (เช็คในเน็ต มันบอกต้องใส่ไฟล์ผ่านคอม ซิงค์กับคอม) สรุปคนรู้น้อย หรืออุปกรณ์อื่นมีความเสี่ยง อย่าใช้เลย คุณไม่มีทางใช้ได้เต็มประสิทธิภาพมันหรอก แม่งเรื่องมาก เราพยายามศึกษามันต่อไป (จนลง ๆ เพราะแอพดูดตังค์)

วินโดวโฟน ยังไม่แน่ใจนัก แต่ตะหงิดไม่ชอบมาแล้ว จากการที่ได้ยินคนขายบอกว่า บลูทูตไฟล์เพลงได้ แต่เพลงนั้นจะมาเป็นเสียงเรียกเข้าไม่ได้ ถ้าจะได้ต้องโหลดไฟล์ผ่านคอม ถึงจะได้
คือมันเรื่องดูเยอะขึ้นทันที เพราะแอนดรอยด์ที่เราใช้ ไม่เรื่องมากเท่านี้ ไอโอเอสไม่รู้ เพราะไม่ได้ตั้งเสียง

ที่เหลือไปศึกษาเอง แต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกัน อย่างเคยเห็นจุ๊บเล่าว่า ออปโป้ ไฟน์ เจมิไน (แอนดรอยด์สองซิม) ของจุ๊บ มันเปลี่ยนแอคเคาวน์จีเมลที่ใช้ดำเนินการให้เครื่องไม่ได้ (คืออาจจะเปลี่ยนได้ แต่เมนูหายากมากจนจุ๊บหาไม่เจอ)

แถม
ถ้าไม่แน่ใจ และเงินเหลือเฟือ จงซื้อแบบ Wifi + 3G เพราะไม่มีซิมก็ทำงานได้ แต่ Wifi อย่างเดียว นึกอยากใส่ซิมจะทำไม่ได้ (เฮ้ย หมายถึงแทบเล็ต เพราะสมาร์ทโฟนทั้งหมดเป็นวายฟายสามจีถ้าไม่ใช่คงไม่เป็นสมาร์ทโฟน)

เท่าที่เราเห็นมา สมาร์ทโฟนใหม่ ๆ ปิดเน็ตได้หมดแล้ว ไม่ต้องกลัวเน็ตรั่ว

รู้ไว้ หากคุณมีสมาร์ทโฟน ซื้อเพาเวอร์แบงค์(เครื่องชาร์จแบตสำรอง)ไว้ได้เลย เพราะถ้าคุณใช้แล้วแบตไม่หมด แปลว่าคุณคงใช้ไม่คุ้มราคา ไปซื้อเครื่องสองจีใช้ คุ้มกว่า
แต่ถ้าใช้ตามปกติ ไม่นานแบตก็หมด บางทีที่ชาร์จหาไม่ได้ (เสียบไฟตามที่ต่าง ๆ เป็นภาระทางสังคมเขาอีก แต่เราก็เคยทำตอนไปค่าย เพราะเพาเวอร์แบงค์เราแบตหมดเกลี้ยง แต่ที่ทำงาน เราไม่เคยชาร์จไฟ เพราะวันต่อวัน เพาเวอร์แบงค์พอใช้ หลัง ๆ แบตยังพอใช้เลย เพราะไม่ว่างใช้มือถือเลย ไม่มีคนโทรมา ไม่โทรไปด้วย ไม่ใช้เน็ต เหลือแบตกลับบ้าน 50% ก็มี  (เปิดตั้งแต่หกโมงเช้า กลับบ้านมาชาร์จสองทุ่ม) กินไฟที่จอใหญ่ จอสัมผัสนี่แหละ

แค่นี้ก่อนแล้วกัน

ขอบคุณที่อ่าน
(ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงไปตามยี่ห้อและรุ่นอุปกรณ์ เออ เราทันใช้แอนดรอยด์ 3.2 กับ 4.04 และได้เล่น 2.3 จากเครื่องวายของป๋า // ไอโอเอสหก // เล่นวินโดวแปด – รุ่นที่เลขเยอะขึ้น ประสิทธิภาพจะดีขึ้น)

ส่วนตัวบอกได้เลย เราจะมองมือถือสองซิมเป็นอันดับแรก (รักเดียวใจเดียว แต่มือถือขอสองซิม เพราะเราจะไว้เทสต์แล้วมาเล่า เราชอบเล่าเรื่องแบบนี้ หนุก) แต่ใจยกให้แอนดรอยด์เป็นที่หนึ่งเรื่องการเข้าถึงไฟล์ เราต้องการไฟล์

ถ้าเราเล่าผิดตรงไหน บอกได้เลยนะคะ

แล้วว่าง ๆ ถ้ารู้อะไรอีก จะมาเล่าใหม่  (เล่าจากแอพเวิร์ดเพรส ในเครื่องคิวสอง แอนดรอยด์) (ที่ใช้งานได้ง่าย เราถนัด กว่าเวิร์ดเพรสในไอโอเอส)

ถ้าไม่ขี้เกียจ จะถ่ายแอพในมือถือคิวสองนี้ มาให้ชม ว่าเราใช้ไรบ้าง อิอิ

ปล.ป๋าเราบอกว่าแกแลกซี่แทบสิบจุดหนึ่ง ดูยูทูบสนุกกว่าไอแพด ทุกวันนี้ป๋าเอาแกแลกซี่แทบไปเล่นตลอดเหมือนเรายกให้ป๋าเราเล่นแล้ว อิอิ (ป๋าเครื่องแม่เครื่องไรงี้กันน้อยใจ) ไอแพดป๋าไปเอาลองทีเดียว บอกว่าไม่ได้ใจ ดูยูทูบไม่ได้เรื่อง คือคนเราต้องเลือกตามที่ชอบ ใช้เครื่องแค่ไหนก็หาอุปกรณ์ใช้ให้ได้ตามนั้น หาข้อมูลเยอะ ๆ ก่อนซื้อนะคะ